สาขาลาดพร้าว



 

 

 



 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


HOW TO WORK TO BE SUCCESSFUL

บทที่ 1 : คิดเพื่อประสบความสำเร็จ
บทที่ 2 : การสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน
บทที่ 3 : ก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น
บทที่ 4 : คุณและผู้บังคับบัญชาของคุณ
บทที่ 5 : การทำงานร่วมกับผู้อื่น
บทที่ 6 : การเผชิญหน้ากับอุปสรรค
บทที่ 7 : การมีความรับผิดชอบในหน้าที่
บทที่ 8 : การท้าทายสู้ความสำเร็จ
บทที่ 9 : ทำอย่างไรให้งานเป็นของคุณ
บทที่ 10 : ก้าวหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

 

Horizontal Scroll: บทที่ 9  ทำอย่างไรให้งานเป็นของคุณ     

      คุณต้องพยายามรับผิดชอบงานให้มากขึ้น ปฏิบัติรอบ คอบ หลังจากนั้นก็รอโอกาสดีๆ ที่เหมาะสมในการร้องขอการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งอาจจะเป็นเมื่อตำแหน่งงานสูงกว่าคุณว่างลง และมีการประชาสัมพันธ์ภายใน หรืออาจจะเป็นการประชุมประเมินผลงานของคุณในครั้งต่อไป

 

การขอเลื่อนขั้นอย่างมีแบบแผน

  

     โดยทั่วไปแล้ว องค์กรต่างๆจะทำการประชาสัมพันธ์สรรหาพนักงานภายในองค์กร มาแทนตำแหน่งงานที่ว่างลงดังนั้นคุณก็ควรจะหมั่นสังเกตดูที่ป้ายประกาศ หรือจดหมายข่าวในองค์กร คอยติดตามเรื่องราวซุบซิบเกี่ยวกับการลาออก หรือการถูกไล่ออกของพนักงาน ซึ่งนั่นจะหมายความถึงการมีตำแหน่งงานที่ว่างลง และเรื่องราวคำพูดเหล่านี้ ก็จะทำให้คุณได้รู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆ ก่อนที่เอกสารในองค์กรจะออกมาเสียอีก นอกจากนี้คุณก็ควรจับตาดูการเปลี่ยนแปลงขององค์กรด้วย การขยายเครือข่ายหรือขอบเขตของธุรกิจ หรือการวางแผนโครงสร้างองค์กรใหม่นั้น ก็อาจจะเป็นโอกาสสำหรับคุณได้ ดังนั้นคุณจึงต้องเตรียมความพร้อม เพิ่มคุณค่า และคุณสมบัติในตัวของคุณให้เพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา
     การเข้าสมัครในตำแหน่งงานที่ว่างนั้น คุณจำเป็นต้องเขียนใบสมัครด้วย ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นพนักงานภายในองค์กรนั้นอยู่แล้ว มันก็ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ดังนั้นการพูดกับผู้บริหารว่าคุณอยากจะเข้าทำงานในตำแหน่งนั้น ก็คงจะไม่เพียงพอ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้วองค์กรต่างๆก็มีนโยบายที่จะคัดสรรจากผู้สมัคร ซึ่งเป็นบุคคลภายในก่อนเป็นลำดับแรกดังนั้นใบสมัครของคุณก็ไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดและข้อมูลที่มากมายเหมือนกับผู้สมัครจากภายนอก เนื่องจากในองค์กรนั้นจะมีประวัติงานของคุณอยู่แล้ว (เขาจะรู้เรื่องราวมากมายเกี่ยวกับคุณเป็นอย่างดีทีเดียว) ซึ่งคุณก็จะต้องทำให้มันเป็นได้เปรียบให้ได้ (นั่นก็คือ การมีประวัติผลงานที่ดีเยี่ยม !)
     จงเขียนใบสมัครให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ แต่ก็อย่าพลาดสิ่งสำคัญใดๆ ไป พยายามแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถจะประสบความสำเร็จได้ในตำแหน่งงานใหม่นี้ โดยการเขียนถึงข้อมูลหลักฐานต่างๆที่จะสนับสนุนความสำเร็จของคุณ และอธิบายด้วยว่าถ้าหากคุณได้ทำงานในตำแหน่งใหม่นี้ มันจะส่งผลดีแก่องค์กรอย่างไร และบอกด้วยว่าคุณคาดหวังที่จะพูดคุยรายละเอียดที่มากกว่านี้ในขั้นตอนของการสัมภาษณ์งาน
     อย่าทึกทัก หรือคิดไปเองว่า ตำแหน่งนี้จะต้องเป็นของคุณแน่นอน เพียงเพราะว่าคุณเป็นผู้สมัครซึ่งเป็นบุคคลภายใน พึงระลึกไว้เสมอว่า ยังมีเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆอีกหลายคนที่เสนอตัวและมีความกระตือรือร้นเช่นคุณ และนอกจากนี้ในบางสถานการณ์ องค์กรก็อาจจะต้องการคนใหม่ๆจากภายนอกมาดำรงตำแหน่งก็เป็นได้

     ทำตัวให้เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือในการสัมภาษณ์
     บทบาทหน้าที่ของคุณในการสัมภาษณ์ก็คือ จงพยายามทำให้ผู้สัมภาษณ์เชื่อมั่นว่า คุณสามารถที่จะสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีคุณค่า เนื่องจากมีความรู้เรื่องงานในองค์กรดีอยู่แล้ว ซึ่งผู้สมัครจากภายนอกนั้นไม่มี คุณต้องเตรียมรายละเอียดข้อมูลเพื่อนำไปพูดคุยในการสัมภาษณ์ให้ดี แต่ก็อย่าเอาพูดเรื่องความสำเร็จของคุณอย่างเดียว จงมีความมั่นใจ และพยายามแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่า คุณสามารถที่จะรับมือกับงานในตำแหน่งใหม่นี้ได้อย่างไร โดยเฉพาะวิธีการกับจัดการกับปํญหาที่เกิดขึ้นในงาน รวมทั้งให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับสถานขององค์กรทั่วๆไป รวมถึงแนวโน้มในอานาคต
     จงพยายามเดาใจผู้สัมภาษณ์ และคิดว่าคำถามอะไรที่คุณอาจจะถูกถาม เพื่อที่คุณจะเตรียมคำตอบที่น่าเชื่อถือไว้ก่อน รวมทั้งสำรวจตัวเองด้วยว่าคุณมีข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนอะไรในใบสมัครของคุณ เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือกับคำถามในเรื่องนั้นๆ ซึ่งถ้าหากคุณปฏิบัติได้ตามนี้ทั้งหมด ก็ถือได้ว่าคุณเตรียมพร้อมได้อย่างดีที่สุดแล้ว ดังนั้นสิ่งที่คุณจะต้องทำตอนนี้ก็คือนั่งผลการตัดสิน

     รับมือกับการประเมินผล
     คุณควรคำนึงถึงการประเมินผลอย่างจริงจัง อย่าคิดว่าผู้จัดการที่ทำประเมินผลพนักงานนั้น ต้องเป็นผู้ที่เข้มงวด โหดร้าย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้จัดการเองก็ไม่ชอบการประเมินผลมากนัก และคิดว่ามันเป็นงานที่ยากลำบาก น่าอึดอัดใจที่สุด โดยเฉพาะถ้าเขาจะต้องประเมินพนักงานที่ทำงานใกล้ชิดกับเขาทุกวัน ดังนั้น ถ้าคุณสามารถสร้างบรรยากาศหรือสิ่งต่างๆให้ง่าย หรือสะดวกใจเท่าที่จะทำได้ให้แก่ผู้ประเมินผลงาน มันก็จะช่วยส่งให้คุณก้าวสู่บันไดของการเลื่อนขั้นต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
     ดังนั้น จงเตรียมตัวให้ดีสำหรับการประเมินผล ทั้งนี้ก็ไปถึงการปฏิบัติงานไปตามคำแนะนำ ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่ตัวคุณเอง และองค์กร

     การให้คำยกย่องเกียรติคุณ
     ถ้าหากความสำเร็จที่คุณได้มานั้น มิได้การให้เกียรติหรือตระหนักถึงบุญคุณของเจ้าของแนวคิดที่ดีๆ เหล่านั้นมันก็ไม่เพียงแต่จะแสดงว่าคุณเป็นคนที่ไม่ซื่อตรง สุจริตเท่านั้น แต่มันจะทำให้คุณถูกจับได้ในที่สุด การไม่ให้เกียรติคุณหรือชมเชยพนักงานที่เป็นเจ้าของความคิดนี้ก็เป็นการย้ายงานลาออกของพนักงาน
     ดังนั้นคุณควรจะต้องให้เกียรติพนักงาน ที่สร้างสรรค์สิ่งที่ดีและให้การส่งเสริม สนับสนุนพวกเขา พึงระลึกไว้เสมอว่างานของบริษัทนั้นก็คือ การดึงดูดโน้มน้าวใจให้พนักงานปฏิบัติงาน มิใช่ผลักไสพวกเขาออกไป


     อย่าโต้ตอบกับคำวิจารณ์
     ในการประเมินผลนี้คุณอาจจะได้รับคำแนะนำต่างๆนาๆจากผู้บริหารของคุณ ซึ่งหากมันฟังแล้วดูเหมือนคำวิจารณ์ก็อย่าตอบโต้ด้วยอารมณ์ และถ้าคุณคิดว่าข้อวิจารณ์นั้นไม่เป็นธรรม ก็ชี้แจง อธิบายเหตุผลด้วยความสุภาพ พนักงานที่ได้รับเลื่อนขั้นนั้นจะเป็นผู้ที่ไม่โกรธเกรี้ยว หรือโต้ตอบกลับเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์ และคุณควรจะยอมรับด้วยว่า ทุกคนนั้นไม่จำเป็นจะต้องเห็นชอบกับคุณ บางทีอาจมีเพื่อนร่วมงานที่คอยอิจฉาริษยาคุณอยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นจงทำความเคยชินกับมัน เพราะบางทีสถานการณ์ตัวคุณ ก็อาจจะแย่ลงไป เมื่อคุณได้รับเลื่อนตำแหน่ง

     การขอขึ้นเงินเดือน
     เมื่อมีการทบทวนเงินเดือนพนักงานอีกครั้ง มันถึงเวลาที่คุณจะร้องขอการขึ้นเงินเดือน ซึ่งก็จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง พยายามอธิบายให้ผู้บริหารเห็นว่า เงินที่จะเพิ่มขึ้นนี้ แสดงถึงความรับผิดชอบในงานของคุณที่เพิ่มขึ้นและเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้างด้านในบริษัท แสดงให้ผู้บริหารตระหนักว่า      คุณคนเดียวสามารถทำงานได้เท่าคน 2 คน มิใช่ว่าคุณเดียวทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่าย เท่ากับคน 2 คน !
คุณควรเริ่มเขียนจดหมายขอขึ้นเงินเดือน โดยเริ่มต้นด้วยการแนะนำว่าคุณจะสามารถทำประโยชน์ ช่วยเหลือบริษัทได้อย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องการลดค่าใช้จ่าย และการก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ แล้วค่อยร้องขอการเพิ่มเงินเดือน โดยไม่ต้องระบุจำนวนเงินไว้ในจดหมาย ซึ่งข้อแนะนำดังต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องคุณควรจะระลึกถึงด้วยในการขอขึ้นเงินเดือน

  1. อย่าร้องขอขึ้นเงินเดือนด้วยการพูดว่า “พนักงานคนนั้นทำงานเหมือนๆกับ ดิฉัน/ผม เลย,ดิฉัน/ผมก็ควรจะได้เงินเดือนมากกว่าเท่าๆเขาเหมือนกัน”
  2. อย่าร้องขอขึ้นเงินเดือน เพียงเพราะว่าคุณกำลังขาดเงิน (การจัดการเรื่องเงินๆทองๆของคุณเป็นเรื่องที่คุณจะต้องรับผิดชอบ มิใช่หน้าที่ของบริษัท)
  3. จงเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ โดยพยายามสร้างความสำเร็จและความก้าวหน้าของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในแฟ้มประวัติงานของคุณ
  4. ถ้าหากว่าคุณเคยได้รับการเลื่อนขั้นมาแล้ว การเลื่อนขั้นครั้งที่สอง ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะมาโดยอัตโนมัติ

  
     การเตรียมหลักฐานสนับสนุน
     จงพยายามเก็บหลักฐาน หรือข้อสนับสนุนที่แสดงว่าคุณได้ทำประโยชน์ให้แก่บริษัท คุณอาจจะต้องการแฟ้มสันห่วง เพื่อที่จะเก็บเอกสารบันทึก หรือรายงานที่จะช่วยสนับสนุนการขึ้นเงินเดือนของคุณได้ และถ้าโครงการนั้นไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จนัก คุณควรจะสรุปว่ามันเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์ นอกจากนี้การเก็บจดหมาย หรืออีเมล์ ที่ลูกค้าเขียนมาชื่นชมคุณ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คุณเช่นกัน

     และในช่วงเวลานี้สิ่งที่ไม่ควรจะปฏิบัติเลยก็คือ

  1. การถามหาวันหยุดพักผ่อน : ถึงแม้ว่าคุณจะทำงานติดต่อกันยาวแล้วก็ตาม
  2. การขอวันหยุดพิเศษเพิ่ม  หรือขอลาหยุดโดยไม่ขอรับเงิน
  3. การถามเกี่ยวกับการทำงานในสาขาอื่น หรือพื้นที่อื่นๆของบริษัท หรือการงานในต่างประเทศ  

 

สรุปให้ชัดๆ

                                                                                      

     มาถึงขั้นนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องสรุปทุกสิ่งทุกอย่างให้พร้อม และแสดงให้ผู้บริหารได้รับทราบ การรับมือกับการประเมินผล และการทบทวนขอขึ้นเงินเดือนนั้น เป็นการดำเนินการขั้นสุดท้ายในแผนการเลื่อนขั้นของคุณ คุณจะต้องพยายามทำทุกสิ่งที่คุณจะทำได้ สาธิตให้ผู้บริหารเห็นว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้าง และแสดงหลักฐานความสำเร็จของคุณ ซึ่งถึงตอนนี้ คุณได้ดำเนินการเลื่อนขั้นอย่างเป็นแบบแผนแล้ว
หมายเหตุ : ขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมการประเมินผลงาน และการพูดคุยได้ที่ Authentic Speaking ใน www.speakingcircles.com     

ที่มา : หนังสือ : "ทำงานอย่างไรให้เลื่อนขั้น"                                   

 

 

"บริการดีที่สุดในโลก Best Service In The World"

1553/3-9 ซอยลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310 Tel. 02-512-3515-9, 02-513-7186-8 Fax. 02-513-3967
E-mail : sorpaiboon@gmail.com
Copyright @ 2005. Sor Paiboon Aluminium Construction Co., Ltd. All rights reserved.