สาขาลาดพร้าว



 

 

 



 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


HOW TO WORK TO BE SUCCESSFUL

บทที่ 1 : คิดเพื่อประสบความสำเร็จ
บทที่ 2 : การสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน
บทที่ 3 : ก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น
บทที่ 4 : คุณและผู้บังคับบัญชาของคุณ
บทที่ 5 : การทำงานร่วมกับผู้อื่น
บทที่ 6 : การเผชิญหน้ากับอุปสรรค
บทที่ 7 : การมีความรับผิดชอบในหน้าที่
บทที่ 8 : การท้าทายสู้ความสำเร็จ
บทที่ 9 : ทำอย่างไรให้งานเป็นของคุณ
บทที่ 10 : ก้าวหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

Horizontal Scroll: บทที่ 8  การท้าทายสู้ความสำเร็จ      

     ชีวิต ของคนทำงานทุกคนอยู่ได้ด้วย “ความท้าทาย” อยากเจริญก้าวหน้า อยากมีเงินเดือนเพิ่ม อย่าได้รับการเลื่อนขั้น องค์กรธุรกิจก็ไม่แตกต่างกัน ทำอย่างไรจึงจะอยู่รอด มีรายได้เพิ่ม มีกำไรเพิ่ม และเจริญรุ่งเรือง ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ ที่มากกว่า 50 ปี ก็ต้องถึงเวลาเปลี่ยนแปลง ในเมื่อมันกำลังตกยุค หรือถอยหลังเข้าคลองคนในองค์การจึงต้องแสวงหาวิธีการทุกๆรูปแบบ ที่จะต้องปรับเปลี่ยนองค์กร ซึ่งก็เป็นที่มาของความต้องการของผู้บริหารที่คาดหวังว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องมีเหตุมีผล มีสามัญสำนึก และใจกว้างอย่างเพียงพอที่จะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงใดๆที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ทุกเวลา
     อาจจะมีหัวหน้างานบางคนที่ยังโบราณคร่ำครึ และก็มักจะชอบพูดว่า “เราทำอย่างนี้มาหลายสิบปีแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีอะไร เพราะฉะนั้นเราก็จะทำอย่างนี้ต่อไป ด้วยวิธีของผม ขอให้ทุกคนวางใจ ผมถูกเสมอ” หลายคนอาจจะบอกว่า คำพูดอย่างนี้ไม่น่าจะออกมาจากผู้ที่เป็นหัวหน้าคนเลย แต่ก็มีบางคำที่คล้ายๆกับข้างต้นนี้ และยังคงถูกอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคใด นั่นก็คือ “ลูกค้าย่อมจะถูกเสมอ” แน่นอนย่อมไม่มีผู้ใดคัดค้าน
     ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ความท้าทายของเราจะอยู่ตรง ณ จุดใด ที่น่าสนใจก็คือ แนวคิดใหม่ในการต้อนรับลูกค้า ให้บริการลูกค้า และขายสินค้าให้กับลูกค้า แล้วเราจะทำมันได้อย่างไรบ้าง ?

 

ทำให้ถูกวิธี

   

     เมื่อคุณกำลังพยายามหาแนวคิด หรือแผนการให้แก่บริษัท จงพยายามทำมันให้ถูกวิธี-ถูกต้องให้มากที่สุด อย่าไปคาดเดาเอาเองกับข้อมูลสัดส่วนการตลอด รูปแบบการขาย หรือการร้องเรียนของลูกค้า ข้อมูลที่แท้จริงน่าจะอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในบริษัท ฝายบัญชีและการเงิน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายวิจัยและวางแผน ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี พวกเขาสามารถที่จะให้คำแนะนำแก่คุณได้อย่างละเอียด แล้วโครงการความคิดดีๆทั้งหลายที่คุณกำลังวาดเค้าโครง ก็จะดูเป็นรูปธรรมและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็เป็นผลมาจากการทำให้ถูกวิธีนั้นเอง
     จงมีความกล้า-ลงมือเขียนแผนงานหรือโครงการของคุณอย่าวิตกว่าสิ่งที่คุณกำลังทำจะกลายเป็นความอวดดี หรืออวดความสามารถของคุณ (จริงๆแล้ว ถ้าใครมีดีจริงๆ...ก็ควรจะอวดมิใช่หรือ) แผนงานหรือโครงการที่สะท้อนถึงโอกาสทางธุรกิจ จะช่วยให้หัวหน้าของคุณเขายอมรับว่าคุณมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ที่จะสร้างคุณประโยชน์แก่องค์กร ทั้งเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่าย แต่ที่ต้องพึงระวังก็คือ ห้ามเรียกร้องผลตอบแทนแลกเปลี่ยนส่วนตัว ในสิ่งที่เกิดจากแผนงานหรือโครงการของคุณ !

 

 

หาผู้ที่คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำ

  

     คนหลายคนมีชีวิตอยู่เพียงแค่มาทำงาน แล้วก็กลับบ้าน ซึ่งมันไม่ควรเป็นเช่นนั้น คุณควรจะมีสามัญสำนึกในอาชีพของคุณ และคิดหาทางที่จะนำตนเองไปสู่ความสำเร็จก้าวหน้าต่อไปในอนาคต คุณสามารถที่จะทำงานของคุณได้ในวิถีทางที่ต่างออกไปจากเพื่อนร่วมงาน โดยมีความท้าทายมากขึ้นซึ่งอาจจะทำได้โดยการค้นหาผู้ที่จะคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่คุณสักคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ แล้วลองพยายามทำงานเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย และขยายโอกาสการทำงานของคุณนั้นให้กว้างออกไปในทุกๆด้านอย่างรอบคอบ
     คุณให้คำจำกัดความของผู้ที่จะช่วยเหลือและให้คำแนะนำ/พี่เลี้ยง (Mentor) นี้ไว้อย่างไรบ้าง ? เขาคือผู้ที่จะให้การสนับสนุนคุณในการทำงาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันหมายถึงใครก็ตามที่คอยให้การช่วยเหลือ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในงานของคุณนั่นเอง อาจจะเป็นนาย Tony G ในแผนกการขาย หรืออาจจะเป็น Mary B ในแผนกประชาสัมพันธ์ อาจจะเป็นคนอื่นที่อยู่ต่างบริษัทกัน หรืออาจจะคนอื่นๆที่ทำงานในสายงานธุรกิจเดียวกันก็เป็นได้
     ผู้ที่จะให้การสนับสนุนคุณนี้ ถ้าจะให้ดีควรจะต้องอยู่ในสายงานที่คุณต้องการจะทำต่อไป (พวกเขาควรจะทำงานในขั้นที่สูงกว่าคุณ 1 ขั้น) คุณควรจะหาทางพบปะพูดคุยกับพวกเขา แสดงความเป็นมิตร พยายามจูนคลื่นให้เข้าถึงกัน แล้วพวกเขาจะให้ความสนใจงานของคุณ อย่าพยายามไปสร้างสัมพันธ์กับบุคคลที่เย็นชาและเก็บตัวมากๆ เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรการเป็นมิตรกับคนเหล่านั้น
     พนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทันสมัยจะได้รับการสนับสนุนให้แบ่งปันความรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นพวกเขาจะมีช่วงเวลาในการใช้  e-mail สัก 15 นาที เพื่อเป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ จงอย่าอายกับการซักถามเพื่อขอคำแนะนำ เพราะสิ่งนั้นจะช่วยให้ได้คำตอบที่นำไปใช้ได้จริงในงานของคุณ อาทิเช่น พวกเขามีการจัดเตรียมงานกันอย่างไรบ้างในแต่ละวัน หรือพวกเขาใช้เวลานานแค่ไหนในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดงบประมาณ หรือมีการประชุมกี่ครั้งที่พวกเขาต้องเข้าร่วม เป็นต้น


เพียงแค่ถาม
คุณควรถามผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ หรือพี่เลี้ยงของคุณเกี่ยวกับ

  1. หนังสือหรือนิตยสารที่เขาแนะนำให้อ่าน
  2. การเข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมธุรกิจต่างๆ
  3. เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์
  4. ได้รับการเลื่อนขั้นครั้งแรกเมื่อไร
  5. หลักสูตรฝึกอบรมใดที่เป็นประโยชน์
  6. คุณลักษณะสำคัญ 3 ประการที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานในหน้าที่ของพวกเขา

       จากนั้นลองเขียนบันทึกสั้นๆภายหลังจากที่คุณได้คำตอบทั้งหมดแล้ว เพื่อเอาไว้ช่วยเตือนความจำในสิ่งที่เขาบอกกับคุณ อย่าลืมที่จะขอบคุณที่จะขอบคุณผู้ที่ให้คำแนะนำเหล่านั้น ซึ่งอาจจะทำผ่านทางจดหมาย หรือ e-mail และพยายามติดต่อกันไว้ให้ต่อเนื่อง เผื่อการขอแนะนำที่แสนพิเศษในโอกาสต่อไป ซึ่งพวกเขาย่อมเต็มใจที่ได้รับเกียรติให้เป็นปรมาจารย์แห่งวิชาชีพของเรา


Flowchart: Alternate Process: เคล็ดลับ 
Rounded Rectangle: จงเก็บคำแนะนำเหล่านั้นไว้กับตัวคุณเอง มีเพียงผู้ที่กระหายการเลื่อนขั้นเท่านั้นจึงจะเข้าใจ คุณไม่จำเป็นต้องเปิดเผยสิ่งที่คุณรู้ให้กับใคร ถึงแม้ว่าเป็นผู้จัดการวางระบบงานระดับต้น นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับการขาย หรือการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ ทางที่ดีควรพยายามเก็บเกี่ยวรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณสนใจให้มากที่สุด จากหนังสือตำราวิชาการแนวธุรกิจ หรือจากการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในบริษัท พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่ว่าสิ่งใดจะมาหยุดยั้งคุณได้     

 

ควรสร้างเครือข่าย...ด่วน

 

     คุณควรสร้างเครือข่าย ในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นและพยายามทำให้ความสัมพันธ์เจริญงอกงาม การเชื่อมโยงกันนี้เหมือนกับการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งคุณสามารถจะเดินตรงเข้าไปหาและร้องขอความช่วยเหลือ (คำแนะนำและข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการทำงาน) จากเครือข่ายสัมพันธภาพของคุณได้ หมั่นส่งจดหมาย หรือ e-mail เพื่อแสดงความขอบคุณอย่างสม่ำเสมอ เมื่อคุณพบใครที่ทำงานสัมมนาหรืองานนิทรรศการแสดงสินค้าต่างๆ ก็ควรจะทำความรู้จักกับพวกเขาอย่างเงียบๆ โดยทันที จากนั้นก็อาจจะส่งจดหมาย หรือ e-mail ตามไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่ควรจะทำตั้งแต่การพบและรู้จักกันเป็นครั้งแรก เพื่อให้เกิดการเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง
     ช่วงที่บริษัทมีการจัดเลี้ยง (ยกเว้นเป็นงานเลี้ยงของสำนักงานที่ทุกคนไม่ต้องการพูดถึงเรื่องงาน) หรือเป็นงานสำคัญๆทุกครั้ง คุณควรจะไปสร้างสัมพันธภาพในวาระต่างๆดังนี้

  1. การประชุมฝึกอบรมในสำนักงาน การสัมมนา หรือการประชุมอภิปราย
  2. การประชุมที่มีตัวแทนจากบริษัทต่างๆมาเข้าร่วมประชุม
  3. การเดินทางไปสาธิตหรือนำเสนอสินค้า/เยี่ยมลูกค้าหรืองานแสดงนิทรรศการต่างๆ
  4. การต้อนรับแขกที่มาเยือนบริษัทคุณ

       นามบัตรส่วนตัวก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น ดังนั้นคุณอาจที่จะทำขึ้นมาเองด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้ หากบริษัทของคุณไม่ได้จัดเตรียมให้กับคุณ การเขียนชื่อ และ e-mail หวัดๆลงบนกระดาษเช็ดปากคงไม่น่าดูนัก ดูไม่เรียบร้อย หรือถ้าเป็นกระดาษชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก็อาจหายไปได้ง่ายควรยื่นนามบัตรของคุณให้เขาอย่างเป็นมิตร และเมื่อคุณทำการแลกเปลี่ยนนามบัตรกันแล้ว มันก็จะช่วยทำให้คุณติดต่อกันได้ง่ายขึ้น จากเหตุผลนี้เอง ทำให้คนรู้สึกสนุกไปกับการแจกนามบัตรให้คนอื่น !
     ในฐานะที่คุณได้ทำการติดต่อกันกับผู้ใหญ่ๆแล้ว จงพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีนั้นไว้ บางทีคุณติดต่อด้วยอาจจะโผล่มาเยี่ยมเยียนคุณที่บริษัทอย่างไม่คาดฝันก็ได้ ! จงมั่นใจว่าคุณ . . .

  1. จัดโต๊ะและกระเป๋าเอกสารของคุณอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย (บางทีอาจจะรถด้วย)
  2. รักษาสมุดรายชื่อผู้ที่คุณติดต่อด้วยให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  3. ร้องขอนามบัตรจากทางบริษัท หรือไม่ก็ทำขึ้นมาเอง
  4. อย่าวางของเล่น รูปถาย หรือเรื่องขำขันต่างๆ รอบๆ คอมพิวเตอร์ของคุณ

 

หมายเหตุ : คุณสามารถขอข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในโลกนี้ได้จาก www.newspapers.com

ที่มา : "หนังสือ : ทำงานอย่างไรให้ได้เลื่อนขั้น"

"บริการดีที่สุดในโลก Best Service In The World"

1553/3-9 ซอยลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310 Tel. 02-512-3515-9, 02-513-7186-8 Fax. 02-513-3967 E-mail : sorpaiboon@gmail.com
Copyright @ 2005. Sor Paiboon Aluminium Construction Co., Ltd. All rights reserved.