จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า สัดส่วนที่มากที่สุด จะอยู่ในส่วนของการเกษียณอายุ ซึ่งเงินที่ถูกหักไป 3% ทุกเดือน เช่น เงินเดือน 10,000 บาท หักร้อยละ 3% คือ 300 บาทต่อเดือน และนายจ้างออกให้อีก 300 บาทต่อเดือน รวมเป็น 600 บาทต่อเดือน จะกลับคืนมาในรูปของเงินบำเหน็จและบำนาญเมื่อส่งครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี แต่จะได้รับตอน 55 ปีบริบูรณ์
ตัวอย่าง : เงินเดือน 10,000
กรณี 1 : เงินบำนาญชราภาพ (ส่งครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี)
คำนวณ : คิดคำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน หรือ 5 ปีสุดท้าย
เงินเดือนเฉลี่ย = 10,000 x 20% = 2,000 บาท (ปีละ 24,000, 10ปี = 24,000 x 10 = 240,000)
กรณี 2 : เงินบำเหน็จชราภาพ (ส่งไม่ครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี)
คำนวณ : คิดคำนวณจากระยะเวลาที่ส่ง หาก 120 เดือน
= 120 x 600 + (ผลประโยชน์ตอบแทน 10 ปี หรือ ดอกเบี้ยเงินฝากที่สะสมมา 120 เดือน)
= 72,000 บาท + (ผลประโยชน์ตอบแทน 10 ปี หรือ ดอกเบี้ยเงินฝากที่สะสมมา 120 เดือน)
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า หากเทียบเงิน 10 ปีด้วยกัน จะต่างกันมาก อีกทั้งไม่สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ยังได้รับไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต คนส่วนใหญ่คิดว่า ทำงานราชการ จะต้องได้รับเงินบำนาญเท่านั้น จริงๆ แล้ว ทำงานทุกบริษัทฯ ที่มีสวัสดิการทำประกันสังคมให้ และหากรู้จักวางแผนครอบครัวที่ดี สามารถส่งลูกหลานเรียนจบ อีกทั้งยังไม่เป็นภาระให้แก่ลูกหลานอีกด้วย แต่หากทำงานไม่ต่อเนื่อง ก็จะล่าช้าไปอีก เพราะต้องส่งให้ครบ 180 เดือน ก่อน ถึงจะสามารถเบิกเงินบำนาญได้
หากพนักงานทำงานตั้งแต่อายุ 15 ปี ส่งครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีแล้ว ตอนนั้นอายุครบ 30 ปี สามารถเกษียณได้เหมือนกัน แต่ยังไม่สามารถเบิกเงินบำเหน็จบำนาญได้จนกว่าจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และหากต้องการผลประโยชน์ทางด้านประกันสังคมต่อ สามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน มาตรา 39 ซึ่งจ่ายรายเดือนด้วยตัวเอง ก็จะสามารถได้รับสิทธิประกันสังคมได้เช่นเดียวกัน แต่หากไม่เกษียณแล้วทำงานต่อ เงินบำเหน็จบำนาญจะบวกดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ เช่น เงินเดือน 10,000 บาท ถ้าเกษียณตามอายุ 55 ปี จะได้รับเงินบำนาญ 2,000 บาท
แต่หากส่งครบ 180 เดือน ในอายุ 30 ปี ทำงานต่ออีก 25 ปี ถึงจะอายุครบ 55 ปี เงินบำเหน็จจะบวกเพิ่ม 1.5% ทุกปี ดังนั้น เงินบำนาญเมื่อเกษียรอายุตอน 55 ปี จะเพิ่มตามไปด้วย ถึงแม้ว่าเงินเดือนจะเท่าเดิม
ประโยชน์ของประกันสังคมยังมีอีกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคต่างๆ ที่สามารถเบิกได้ เช่น ทันตกรรม, บำบัดทดแทนไต, ปลูกถ่ายไขกระดูก, เปลี่ยนอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดโรค, โรคเอดส์ ฯลฯ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางด้านการบริการ หรือ การเบิกจ่ายเงินต่างๆ เป็นเรื่องของบริหารจัดการในส่วนของภาครัฐบาล โดยส่วนใหญ่ ประเทศที่เจริญแล้ว จะเรียกเก็บภาษีและเงินประกันสังคมสูง หากรัฐบาลสามารถบริหารจัดการเรื่องประกันสังคมได้เป็นอย่างดี และทำความเข้าใจให้กับประชาชนได้ ประชากรจะอยู่อย่างเป็นสุข และประชากรจะมีการศึกษาตามมาด้วยอัตโนมัติ เนื่องจาก สวัสดิการส่วนใหญ่ ฟรีแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาของบุตร, การรักษาพยาบาลค่อนข้างดี, การเกษียณมีเงินทนแทนมาก ประชากรจะทุ่มเทให้การทำงานอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะดำรงค์ชีวิตได้ตลอดชีวิตแล้ว อาชญากรรมอาจจะน้อยตามไปด้วย แต่มีบางประเทศที่เจริญ แต่ยังมีอาชญากรรมมาก อาจเป็นเพราะคนเหล่านั้น ไม่มีสิทธิในเรื่องประกันสังคม หรือ แม้กระทั่งโอกาสในการทำงาน และประชากรค่อนข้างหลากหลายและแบ่งแยก
ดังนั้น การทำประกันสังคม คือ ประกันชีวิตอย่างหนึ่ง ที่รัฐบาลและผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล และรับผิดชอบชีวิตของพนักงานในองค์กร
* ข้อมูลเพิ่มเติม : คู่มือประกันตน ของ สำนักงานประกันสังคม
- ค่าคอมมิชชั่น หรือ เบี้ยผลงาน
ทางบริษัทฯ มีเงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินเดือนให้พนักงาน ในส่วนของผลงานที่เกิดขึ้นประจำเดือน
- ค่าเที่ยว
ทางบริษัทฯ มีเงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินเดือนให้พนักงาน ในส่วนของตำแหน่งที่ใช้รอบงานในการวัดผลงานภายในเดือน
- เบี้ยขยันประจำเดือน
ทางบริษัทฯ มีเงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินเดือนให้พนักงานที่ไม่ขาดลามาสายภายในเดือน
- โบนัสประจำปี
ทางบริษัทฯ มีเงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินเดือนให้พนักงาน ขึ้นอยู่กับผลงานและผลประกอบการประจำปี
- ตรวจสุขภาพประจำปี
ทางบริษัทฯ มีตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงานฟรี
- ชุด Uniform ใหม่ประจำปี
- อุปกรณ์การทำงาน เช่น อุปกรณ์การเขียน, ถุงมือ เป็นต้น
- เงินช่วยเหลือพนักงานในโอกาสต่างๆ เช่น งานศพ, งานบวช, ลาคลอด ฯลฯ
|