อย่าเพียงแต่ยอมรับในการรับผิดชอบเท่านั้นแต่ขอให้เข้าใจมันอย่างดีด้วย จงเป็นผู้ที่พร้อมจะแก้ปัญหา ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้ความรับผิดชอบของคุณก็ตาม คุณสามารถจะเป็นคนที่ช่วยคลี่คลายปัญหาเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นได้ เช่น กระดาษติดในเครื่องถ่ายเอกสาร หรือเพื่อนร่วมงานทิ้งกุญแจรถไว้ในรถแล้วล็อกไปเสียแล้ว ฯลฯ จงเป็นผู้ที่คนอื่นๆยกย่องว่าเป็นคนมีน้ำใจชอบช่วยเหลือ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พนักงานหญิงคนหนึ่งทำงานกับบริษัท/ สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในแหน่งประชาสัมพันธ์ บ่อยครั้งที่เธอจะเลิกงานช้า เพื่อคอยดูแลนิตยสารให้พิมพ์เสร็จสมบูรณ์ เธอเริ่มต้นที่จะเข้าไปช่วยในขั้นตอนของการบรรณาธิการ และขั้นตอนการผลิตต่างๆนอกจากนั้นเธอยังจัดการงานที่คอยรบกวนกองบรรณาธิการนี้ด้วย เช่น การคอยรับโทรศัพท์สอบถามเรื่องต้นฉบับ โทรศัพท์ตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ การส่งใบเสร็จรับเงินค่านิตยสาร แฟ็กซ์เอกสารต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเธอสนิทที่จะช่วยจัดการทำสิ่งเหล่านี้ให้ และช่วยแก้ปัญหาให้กับพวกเขาเมื่อหมดเวลางานทางประชาสัมพันธ์ของเธอ
เธอได้เรียนรู้งานอย่างมากมายทั้งโดยการสังเกต และการทำงานในการช่วยเหลือกองบรรณาธิการ แต่เพียงเท่านั้นยังไม่พอสำหรับการเลื่อนขั้น เธอจึงอาสาจะรับภาระความรับผิดชอบที่มากขึ้นไปอีก ผลปรากฏว่าภายใน หนึ่งปีเธอก็ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ และภายใน 3 ปี เธอก็ได้เป็นรองบรรณาธิการ
วิธีดังต่อไปนี้ จะสามารถเพิ่มระดับความรับผิดชอบในงานของคุณให้มากขึ้น
- เพิ่มรายละเอียดให้มากขึ้น เมื่อต้องเขียนรายงาน จงพยายามก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่ง
- นำเสนอแผนงาน 3 เดือนข้างหน้าของคุณไปยังผู้บังคับบัญชา
- ชี้แนะให้แก่เพื่อนรวมงาน ที่ประสบอุปสรรคในการทำงาน
- เสนอตัวที่จะเป็นพี่เลี้ยง/ผู้สอนแนะ (Mentor) ถ้าคุณมีประสบการณ์ในระบบงานบริษัท และมีความเป็นผู้ใหญ่พอ คุณสามารถจะให้คำแนะ และนำทางให้กับพนักงานบางคนที่เพิ่งเข้าสู่โลกอาชีพ
- เข้าใจวิธีที่จะจัดการกับงบประมาณ
การมีความรับผิดชอบในการแก้ปัญหา ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้างาน ลองสังเกตุดูว่าผู้จัดการที่คุณชื่นชอบนั้นเป็นอย่างไร และจงเรียนรู้ที่จะทำตามในสิ่งที่เขาทำ พวกเขาต้องรับมือกับอุปสรรคโดย :-
- การมีอารมณ์ขัน ทำให้ผู้คนหัวเราะ เพื่อที่พวกเขาจะได้ลืมความคับแค้นใจต่างๆ
- มีทัศนคติที่ดี ไม่ด่วนตัดสินใจผู้อื่น จัดการกับปัญหา โดยปราศจากอคติต่อผู้อื่น
- มองโลกในแง่ดี ไม่หมกมุ่นกับปัญหา
โดยปกติแล้ว ผู้จัดการที่เยี่ยมยอดนั้นต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาและทำงานเป็นทีมได้อย่างดี เป็นที่ยอมรับของทุคนและปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค มีกิริยาท่าทางที่สุภาพอ่อนโยน และเป็นผู้จัดการที่แสดงทัศนคติรับผิดชอบต่อความสุขของคนอื่นๆ
การติดต่อสื่อสารต่อบุคคลอื่นๆ
ผู้จัดการที่ดีจะต้องไม่มัวเก็บตัวอยู่แต่ในสำนักงานพวกเขาควรจะเปิดเผยตัวเอง ดังนั้งหากคุณไม่ได้เป็นคนที่ชอบเข้าสังคม คุณก็พยายามอย่างมากที่จะทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ยิ่งคุณทำได้บ่อยเท่าไร มันจะยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น พยายามทำตัวให้ร่าเริงเข้าไว้ พยามยามพูดกับทุกๆคน คนในสำนักงาน ตั้งพนักงานต้อนรับไปจนถึงพนักงานทำความสะอาด ดีกว่ามัวแต่พูดคุยเฉพาะกับกลุ่มคนที่ทำงานร่วมกันเท่านั้น เพราะมันจะเท่ากับว่า เราดำเนินชีวิตกันในสภาพที่จำเจโดยไม่สมควร
คุณน่าจะเปิดตัวเอง และพูดคุยกับคนที่มาเยี่ยมเยียนและกับคนที่คุณไม่ได้ทำงานด้วยโดยตรง โดยอาจสนทนาว่า เป็นอย่างไรบ้างครับ? มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? พูดพร้อมกับพยายามยิ้มเท่าที่คุณจะสามารถเริ่มต้นได้ พยายามทำให้เป็นนิสัยโดยการใช้บทสนทนาสั้นๆ นี้กับทุกคน แล้วคุณก็จะรู้ว่ามีเพื่อนมากน้อยแค่ไหนที่ทำงานอยู่ในแผนกเดียวกับคุณหรือในตึกเดียวกับคุณ
ในการประชุมหรืองานเลี้ยงรับรองนั้น คุณควรที่จะแสดงความรับผิดชอบในเรื่องบางอย่าง ( พร้อมๆ กับทำตัวตามสบาย ไม่ต้องเคร่งเครียด จริงจังมากนัก ) โดยคุณอาจจะ
- เชิญชวนและแนะนำเสนออาหารเครื่องดื่มให้กับแขกพยายามแสดงความบทการเป็นเจ้าของบ้าน มากกว่าที่จะทำตัวเป็นแขกเสียเอง
- ให้ความสนใจกับผู้มาเยี่ยมเยียนจากบริษัทอื่นๆ และพูดคุยกับเขา
- พาแขกชมรอบๆ บริเวณสถานที่ทำงาน
- เสนอตัวที่จะทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการ
- มอบของที่ระลึกของบริษัท หรือรับลงทะเบียนผู้มาร่วมงาน
- อาสาที่จะนำการค้นคว้าข้อมูลวิจัยอะไรบางอย่าง
- เสนอที่จะเป็นผู้ประสานให้กับคณะทำงานกลุ่มเล็กๆ หรือการจัดทำโครงการต่างๆ
- ถ้าแขกของคุณมาจากนอกเมืองให้แนะนำสถานที่ท่องเทียวที่สวยงามในท้องถิ่น สถานที่ที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์ หรือร้านอาหารที่ขึ้นชื่อ
เมื่อคุณทราบบทบาทที่ควรจะต้องทำแล้ว คุณก็จะรู้ว่าคุณจะต้องพูดอะไร ? ทำอะไรบ้าง ? ซึ่งมันจะเป็นการขยายขอบเขตในสิ่งที่คุณต้องทำ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวคุณ การเป็นผู้ที่มีความโอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือของคุณ อาจจะไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบมากนัก แต่มันก็จะได้รับการกล่าวขวัญ ชื่นชมและเป็นที่ยอมรับ มากกว่าการที่คุณจะมัวเอาแต่ดื่มและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานของคุณเท่านั้น
คำเตือน : การมีภาระความรับผิดชอบที่มากขึ้น ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องทำตัวเป็นเจ้านายที่จู้จี้ หรือต้องพยายามสร้างความประทับใจ ให้กับคนที่คุณรู้จักดีอยู่แล้วเพราะไม่ว่าสิ่งที่คุณแสดงออกมาในการทำงานจะดูฉลาดหลักแหลมแค่ไหนก็ตาม พวกลูกน้องก็ยังจะระมัดระวังตัวอยู่นั้นเอง มันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องทำให้พวกเขามองว่าคุณเป็นคนที่น่าทำงานด้วย อย่าลืมว่า ความสุข มั่นคง และเด็ดเดี่ยวนั้น จะเป็นปัจจัยช่วยส่งเสริมให้ได้รับการเลื่อนขั้น
ที่ต้องพึงระมัดระวัง เป็นอย่างยิ่งก็คือ การตัดโอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพงานของคุณ อาจเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรม
7 ประการดังนี้
- การโอ้อวดว่าตัวคุณมีดีอย่างไร
- การพยายามทำอย่างมากเกินไป เร็วเกินไป และเคร่งเครียดเกิดไป
- การวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ผู้อื่นทำ
- ทำให้ใครบางคนกลายเป็นตัวตลก แทนที่จะทำการพิจารณาอย่างสุขุม รอบคอบ
- การซุบซิบนินทา ซึ่งถ้าคุณสามารถหลีกเลี่ยงมันได้คุณก็จะได้รับการเคารพนับถือจากเพื่อนร่วมงาน
- ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
- แสดงให้เห็นถึงความอคติ ลำเอียง เช่น ต่อต้านคนที่อายุ คนที่มีน้ำหนักมากเกิดไป พวกรักร่วมเพศ หรือพวกที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน ฯลฯ
ลองศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ให้ละเอียด
มันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะก้าวไปเป็นผู้จัดการในอนาคต ด้วยความรู้พื้นฐานเกี่วยกับการทำงาน 3 ประการดังนี้
- กฎหมายเกี่ยวกับบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของกฏหมายการว่าจ้างงาน เช่น การจ้างงาน และการปลดคน กระบวนการทางวินัยต่างๆการ ประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน รวมถึงผลประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
- สหภาพแรงงาน และการทำงานของพวกเขา
- ประวัติการดำเนินงานของบริษัท
พยายามอ่านหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับธุรกิจ-เศรษฐกิจการเงินที่มีคุณภาพทุกวัน อาจจะอ่านฉบับอื่นด้วยถ้าคุณต้องการ อาจจะดูสารคดีเกี่ยวกับผู้ให้คำแนะนำในการธุรกิจหรือข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ รายการเหล่านี้จะให้ทั้งความสนุก ความบันเทิง ง่ายแก่การติดตาม และที่สำคัญคือ การให้ความรู้ (Knowledge) ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่คุณเป็นอย่างมากในด้านคำแนะนำเชิงธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ยิ่งคุณสามารถเรียนรู้ได้มากเท่าใด โอกาสแห่งความก้าวหน้าในการทำงานของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นไปด้วยเป็นเงาตามตัว
หมายเหตุ : คุณสามารถหาหนังสือเกี่ยวกับการทำธุรกิจความคิดสร้างสรรค์ และการจูงใจจาก Creativity Unleashed ใน www.cul.co.uk/books
ที่มา : "หนังสือ : "ทำงานอย่างไรให้ได้เลื่อนขั้น""