อลูมิเนียมคอมโพสิต
(Aluminium Composite Panel)
อลูมิเนียมคอมโพสิต เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผนังทั้งภายนอกและภายใน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้ตกแต่งแผงอาคารต่างๆ นอกเหนือจากทาสี
แผงกระจก หรือ ปูกระเบื้อง อลูมิเนียมคอมโพสิต (Aluminium
composite Panel) มีคุณสมบัติที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้
1. ติดตั้งง่าย
2. น้ำหนักเบา
3. ทนต่ออากาศร้อน
4. สีเคลือบติดทนนาน และสม่ำเสมอ
5. มีสีให้เลือกมากมาย
6. ทำความสะอาดง่าย
7. ขึ้นรูปได้ง่าย โค้งมนได้ หักเหลี่ยมได้
ตัดได้ง่าย พับขึ้นได้
โดยเฉพาะคุณสมบัติข้อสุดท้าย อลูมิเนียมคอมโพสิต (Aluminium
Composite Panel) สามารถดัดแปลงได้หลายรูปแบบ
อลูมิเนียมคอมโพสิต
(Aluminium Composite Panel) มี 3 ความหนา คือ 3 mm. 4
mm. และ 5 mm. มีคร่าวๆ 3 ส่วน คือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง
สำหรับส่วนบนและส่วนล่าง คือ อลูมิเนียมแผ่น (Aluminium
Sheet) ซึ่งมีความหนา 0.3 mm. 0.4 mm. และ 0.5 mm. มีคุณสมบัติคือ
คงทน เนื่องจากเป็นโลหะ อีกทั้งสีที่อบเข้ากับอลูมิเนียมแผ่น
(Aluminium Sheet) ติดทนนาน เช่นเดียวกับอลูมิเนียมเส้น
(Aluminium Extrusion) สำหรับตกแต่งภายนอก (PVDF) รับประกัน
20 ปี สำหรับตกแต่งผนังภายใน (PE) รับประกัน 10 ปี ส่วนตรงกลางคือ
โพลีเอทีลีน (Polyethylene) ซึ่งมีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี
เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้งานในประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย
ในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง
ต้องบอก 2 อย่างคือ ความหนาทั้งหมด และ ความหนาของอลูมิเนียมแผ่น
(Aluminium Sheet) เวลาเขียน ส่วนใหญ่จะเขียนย่อ 4 mm. /
0.3 คือ อลูมิเนียมคอมโพสิต (Aluminium Composite Panel)
หนาทั้งหมด 4 mm. อลูมิเนียมแผ่น (Aluminium Sheet) ที่ประกบบนและล่างหนา
0.3 ดังนั้น ส่วนไส้ตรงกลางซึ่งเป็นโพลีเอทีลีน (Polyethylene)
ความหนาจะเหลือ 3.4 (0.3 + 3.4 + 0.3 = 4) นั่นหมายความว่า
ยิ่งอลูมิเนียมแผ่น (Aluminium Sheet) ยิ่งหนาหนาเท่าไหร่
ไส้ตรงกลางซึ่งเป็นโพลีเอทีลีน (Polyethylene) จะบางขึ้นเท่านั้น
ในทางกลับกัน ยิ่งอลูมิเนียมแผ่น (Aluminium Sheet) ยิ่งบางขึ้นเท่าไหร่
ไส้ตรงกลางซึ่งเป็นโพลีเอทีลีน (Polyethylene) จะหนามากขึ้นเท่านั้น
การเลือกใช้
การเลือกความหนาของโพลีเอทีลีน
(Polyethylene) ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการกันความร้อนมากแค่ไหน
แต่สำหรับอาคารส่วนใหญ่ ติดเครื่องปรับอากาศอยู่แล้ว จึงอาจจะไม่จำเป็นมากนัก
การเลือกความหนาของอลูมิเนียมแผ่น
(Aluminium Sheet) ขึ้นอยู่กับอาคารสูงมากแค่ไหน หากสูงไม่เกิน
7 ชั้น แนะนำให้ใช้ 0.3 mm. หากสูงเกิน 7 15 ชั้น แนะนำให้ใช้
0.4 mm. และ หากสูงมากกว่านั้น แนะนำให้ใช้ 0.5 mm. เพื่อทนต่อแรงโน้มถ่วงและอากาศด้านบน
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการลูกค้า เช่นเดียวกับการเลือกใช้อลูมิเนียมเส้น
(Aluminium Extrusion) ถึงแม้จะเป็นบ้าน 2 ชั้น แต่เจ้าของบ้านอาจเลือกอลูมิเนียมหนา
1.5 mm. หรือ 2.0 mm. เพื่อความคงทนของบ้านเพื่ออยู่อาศัยเอง
สำหรับความหนาที่แนะนำใช้ทั่วไป
คือ 4 mm. / 0.3 mm.
กระบวนการผลิต
(Production Process)

Layer 1
- Aluminum Coil
- Back Coating
- Baking Curing
Layer 2
- Polymer Adhesive Film
Layer 3
- Extrusion
Layer 4
- Polymer Adhesive Film
Layer 5
- Aluminium Coil
- Chermical Treatment
- Back - Coating
- Baking
- Finish Coating PVDF
- Baking
- Surface Coating PVDF
- Baking - Curing
Then
Step 1 : One - Run Lamination of 5 Layers
Step 2 : Heat Setting
Step 3 : Cooling Setting
Step 4 : Inspection
Step 5 : Applying Protective Film
Step 6 : Exact - Length Cutting
Step 7 : Inspection Of Finished Product
Step 8 : Packing
Step 9 : Warehousing
Certificate
สี (Rich
Colors)

ติดต่อ
:
1. คุณวลัย เจนธรากรณ์ T. 02 - 512 - 3515 - 9 ext. 111 F. 02 - 513 - 3967 M. 081 - 752 - 2277
2. คุณชุณธภัส เจนธรากรณ์ T. 02 - 512 - 3515 - 9 ext. 408 F. 02 - 513 - 3967 M. 086 - 633 - 4343
|